องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
ข่าวสารประชาสัมพันธ์จาก องค์การจัดการน้ำเสีย

หมวดหมู่: ข่าวประชาสัมพันธ์

อัพเดทล่าสุด

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า บริเวณชุมชนหัวฝาย และชุมชนกำแพงงาม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ผศ.ดร.วสันต์ จอมภักดี ที่ปรึกษาคณะกรรมการและคณะทำงานโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมผู้นำชุมชน และประชาชนจากชุมชมทั้ง 2 แห่ง ร่วมให้การต้อนรับ ในการนี้ นายเกรียง กัลป์ตินันท์ ได้มอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียจัดฝึกอบรมการติดตั้งและดูแลรักษาถังดักไขมันให้กับประชาชนในชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการลดความสกปรกของน้ำทิ้งจากครัวเรือน และเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้การจัดการน้ำเสียชุมชนเป็นภารกิจสำคัญในระดับพื้นที่โดยมีเป้าหมายบำบัดน้ำเสียจากชุมชนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะอีกด้วย สามารถรับวีดีโอได้ที่นี่ : https://www.youtube.com/watch?v=v7vwFgQgFf8

อ่านรายละเอียด

การจัดสร้างวัตถุมงคล เนื่องในโอกาสสถาปนากระทรวงมหาดไทย ๑๓๐ ปี

กระทรวงมหาดไทยมีอายุครบ ๑๓๐ ปี ไปเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ ภารกิจเมื่อแรกตั้ง เน้นจัดระเบียบงานมหาดไทยให้รวมอยู่ในที่เดียวกัน ดังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ว่า “ในยุคสมัยนั้นระเบียบการปฏิบัติงานต่าง ๆ ขาดความชัดเจน งานก็ยังเหลื่อมซ้อนกันกับหน่วยงานอื่น ๆ วิธีการปฏิบัติงานก็ล้าสมัย จนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงมีพระราชดำริเป็นยุติให้ฟื้นราชการมหาดไทยทั้งกระทรวง” สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดี ทรงริเริ่มแนวคิดการทำงานที่มุ่งเน้นอุดมการณ์ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” โดยทำนุบำรุงบ้านเมืองเสียตั้งแต่ยามปกติ ไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาเสียก่อนค่อยดำเนินการ มีการตั้งกรมต่าง ๆ ขึ้น และดึงอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองที่เคยกระจายอยู่หลายหน่วย มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยเพียงแห่งเดียว ทำหน้าที่ในงานปกครองหัวเมือง งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานรักษาความสะอาด งานอัยการ งานสาธารณสุข งานป่าไม้ งานเหมืองแร่และงานเก็บภาษีอากร สถานที่ปฏิบัติงานของกระทรวงมหาดไทย เดิมใช้ศาลาลูกขุนใน (ฝ่ายซ้าย) ที่ตั้งอยู่ภายในเขตพระบรมมหาราชวัง ส่วนบริเวณกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน เดิมใช้เป็นที่ทำการของการกระทรวงนครบาลและกระทรวงโยธาธิการ ภายหลังได้ยุบรวมมาอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย แต่ตัวที่ทำการกระทรวงเอง ย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบันเมื่อปี ๒๔๗๖ อาณาบริเวณกระทรวงมหาดไทยในทุกวันนี้ ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่วังของเจ้านายชั้นสูง ๓ วัง ได้แก่ “วังริมสะพานช้างโรงสี วังใต้” เป็นวังของพระองค์เจ้าเนียม กับ “วังถนนเฟื่องนคร วังเหนือ” ซึ่งเป็นวังของกรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล ทั้งสองวังนี้ได้ถูกปรับมาสร้างศาลาว่าการกระทรวงนครบาล และสุดท้ายคือ “วังถนนเฟื่องนคร วังใต้” อันเคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระบิดาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ต่อมาหลังกรมขุนเจริญผลฯ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑เมษายน ๒๔๓๕ ร.๕ รับสั่งถามกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ฯ ผู้เป็นโอรสได้ความว่า จะผนวชไปตลอดพระชนม์ชีพ จึงโปรดฯให้นำพื้นที่วังเดิมก่อสร้างศาลาว่าการกระทรวงโยธาธิการ ในภายหลังพื้นที่ทั้งหมดได้ถูกโอนมาเป็นของกระทรวงมหาดไทยจนปัจจุบัน ดังนั้น ถือได้ว่ากระทรวงมหาดไทยกับวัดราชบพิธฯ มีความใกล้ชิดผูกพันกันมาแต่ครั้งกระโน้น ในโอกาสอันสำคัญยิ่งนี้ มีการจัดสร้างพระพุทธรูปประจำกระทรวงมหาดไทย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว ขึ้นเพื่อเตรียมนำไปประดิษฐาน ณ ศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทยแห่งใหม่ ที่กำลังก่อสร้างในเขตคลองสาน กำหนดแล้วเสร็จปี ๒๕๖๙ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานนามว่า “พระพุทธมุนีศรีประชานาถ” แปลว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่ง อันนำมาซึ่งความเจริญของปวงประชา” รวมทั้งจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อตอบแทนแก่ผู้มีจิตศรัทธา บริจาคเงินสมทบ “กองทุนสาธารณกุศล ๑๓๐ ปี กระทรวงมหาดไทย” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างสถานปฏิบัติธรรมสมเด็จพระสังฆราช (อมฺพรมหาเถร) ตำบลคลองเก้า อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และใช้สำหรับสงเคราะห์บุคลากรในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและครอบครัว ที่มีปัญหาความเดือดร้อนหรือประสบภัยจากการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ทั้งนี้ ได้รับพระเมตตาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีเททองหล่อพระเกศ “พระพุทธมุนีศรีประชานาถ” และ เททองหล่อราชสีห์มหามงคล เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร โดยมีแผ่นทอง-เงิน-นาค ที่ผ่านการจารอักขระและอธิษฐานจิต จากเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมจากทั้ง ๗๖ จังหวัดและกรุงเทพมหานคร เป็นมวลสารสำคัญ พิธีพุทธาภิเษกจะจัดขึ้นในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕ ณ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีพระอาจารย์วราห์ ปุญญวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิทอง เขตจอมทอง เป็นเจ้าพิธี และคณาจารย์นั่งปรก ๘ รูป ได้แก่ หลวงพ่อชำนาญ วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี หลวงพ่อแป๊ะ วัดสว่างอารมณ์ จ.นครปฐม หลวงปู่ฤษีตาไฟ วัดเทพหิรัญย์ จ.ชัยนาท หลวงพ่ออุดมทรัพย์ วัดประสิทธิเวช จ.นครนายกหลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี จ. สมุทรสงคราม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง จ.อุดรธานี หลวงพ่อพบโชค วัดห้วยปลากั้ง จ.เชียงราย และพระอาจารย์สุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น จ. มหาสารคาม วัตถุมงคลที่จัดสร้าง ได้แก่ ราชสีห์มงคลเนื้อทองคำ ๒๖๐ องค์ ( ๙๐,๐๐๐ บาท) เนื้อเงิน ๒,๕๖๕ องค์ ( ๕,๐๐๐ บาท) เนื้อรมดำ ๒๕,๖๕๐ องค์ ( ๕๐๐ บาท) ราชสีห์ใหญ่เนื้อโลหะพิเศษ ๒,๕๖๕ องค์ ( ๑๐,๐๐๐ บาท) พระพุทธมุนีศรีประชานาถ (จำลอง) หน้าตัก ๙ นิ้ว ๑,๓๐๐ องค์ ( ๑๓,๐๐๐ บาท) และเหรียญพระพุทธมุนีศรีประชานาถ ขนาด ๒.๔ ซ.ม. ๒๐,๐๐๐ เหรียญ ( ๑๓๐ บาท) ผู้สนใจวัตถุมงคล “ราชสีห์ทองคำ” ร่วมบริจาคได้ที่ Line Official “ราชสีห์ 130 ปี มท.” ส่วนวัตถุมงคลรายการอื่นบริจาคผ่านบริษัทไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด ที่ www.jubjaai.com

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นำทีม องค์การจัดการน้ำเสีย โยธาฯ อปท เร่งฟื้นฟูคลองสำโรงสงขลา ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังเมืองสงขลาและน้ำเน่าเสีย

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง เขตเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายผดุงเดช ลือปิยะพาณิชย์ ผู้ตรวจกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยดำเนินงานประธานรัฐสภา นายภูรินทร์ ทิพย์มณี รองนายกเทศบาลมนตรีนครสงขลา นายธนรัตน์ ตุละธน รองนายกเทศมนตรีเมืองเขารูปช้าง ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พมจ.จังหวัดสงขลา หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมรายงานข้อมูล ณ บริเวณสะพานแยกสำโรง ทั้งนี้ นายนิพนธ์ ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาคลองสำโรงในการที่จะหาแนวทางแก้ไขเพื่อฟื้นฟูคลองสำโรงให้มีความสะอาดมีศักยภาพในการระบายน้ำให้ได้ดีขึ้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคลองมีปัญหาตื้นเขินคันคลองบางช่วงมีระดับต่ำและมีผู้อาศัยอยู่บริเวณแนวคลองสำโรงอย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลต่อการระบายน้ำ ทั้งยังมีขยะและสิ่งปฏิกูลจำนวนมากที่ถูกนำมาทิ้งลงคลอง จนทำให้น้ำมีคุณภาพต่ำ มีสีดำ เน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งรมช.มท.ได้มอบหมายให้ทางองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)หาแนวทางแก้ไขปัญหาคลองสำโรงให้ได้เพราะเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน สำหรับคลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้างเป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา และเมื่อมีชุมชนมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชน จึงต้องมีการวางแผนเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ควบคู่ไปกันไป ทั้งนี้นายชีระ วงศบูรณะได้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพน้ำในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย ระยะที่ 1 เทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยจะเป็นการรวมน้ำเสียซึ่งปัจจุบันถูกระบายลงสู่คลองสำโรงโดยตรงเป็นปริมาณมาก เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ทางราชการกำหนดไว้ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง รวมทั้งบรรเทาปัญหาด้านความเป็นอยู่ และสุขอนามัยของพี่น้องประชาชนในชุมชนริมคลองสำโรงอย่างเป็นระบบได้อย่างยั่งยืน ต่อจากนั้น รมช.มท.ได้ลงเรือเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำเสียบริเวณคลองสำโรงอย่างใกล้ชิดบริเวณ ถนนสงขลา-นาทวี ซอย 2 พร้อมทั้ง ร่วมปล่อยจุลินทรีย์ชนิดน้ำ เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย และลดการเกิดกลิ่นจากน้ำขังในคลองสำโรง รมช.มท.กล่าวว่า วันนี้ได้เชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาสำรวจคลองสำโรงเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน โดยการดำเนินการแก้ไขนั้นจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังในเมืองสงขลา และแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองสำโรง ในส่วนของกรมโยธาฯเองก็ได้ทำเขื่อนป้องกันการกัดเซาะไว้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งวันนี้ได้รับการยืนยันจากรองนายกเทศบาลเมืองเขารูปช้างว่า จะสามารถเคลียร์เรื่องพื้นที่ได้แล้วเสร็จ ถ้าสามารถเคลียเรื่องพื้นที่ได้ กรมโยธาธิการและผังเมืองก็สามารถตั้งงบประมาณต่อเนื่องจากโครงการเก่าที่สำเร็จไปแล้วได้ และเนื่องจากก่อนหน้านี้มีปัญหาในเรื่องของที่ดิน ซึ่งถ้าเทศบาลเมืองเขารูปช้างสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ ก็จะสามารถหางบประมาณมาทำการต่อไป อันนี้นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นสถานที่พักผ่อนออกกำลังกาย และยังเป็นการป้องกันการกัดเซาะชายตลิ่ง ควบคู่ไปกับการทำท่อระบายน้ำเสีย เพื่อไม่ให้ปล่อยน้ำเสียลงไปในคลองสำโรง

อ่านรายละเอียด

อจน.ร่วมจัดงานประชุมขับเคลื่อน ติดตาม ภารกิจสำคัญ กระทรวงมหาดไทย

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) ร่วมจัดงานประชุมขับเคลื่อน ติดตาม ภารกิจสำคัญ กระทรวงมหาดไทย โดยองค์การจัดการน้ำเสียได้ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานในการประชุมขับเคลื่อน และติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งงานนี้ ได้รับเกียรติจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย โดยงานนี้ นาย ชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้นำเสนอการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากการบำบัดน้ำเสีย ของศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ จังหวัดนนทบุรี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ในการเพาะเลี้ยงตัวอย่างพันธุ์ปลาน้ำจืดของประเทศไทย ในรูปแบบอควาเรียม(Aquarium) นอกจากนี้ องค์การจัดการน้ำเสียยังมีการก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำที่มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านบนในรูปแบบอื่น เช่น สนามฟุตบอล สวนสาธารณะ เป็นต้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถติดต่อกองพัฒนาและบริหารโครงการ ฝ่ายวิศวกรรม โทร 02 273 8562 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.wma.or.th

อ่านรายละเอียด

องค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับ รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประเภท รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น ประเภท เชิดชูเกียรติ ร่วมกับ การประปานครหลวง

เมื่อวันศุกร์วันที่ 31 มกราคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2564 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยองค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับ รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประเภท “รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น ประเภท เชิดชูเกียรติ ร่วมกับ การประปานครหลวง”  

อ่านรายละเอียด

กระทรวงมหาดไทยได้มอบใบเกียรติบัตรยกย่ององค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

กระทรวงมหาดไทยได้มอบใบเกียรติบัตรยกย่ององค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ให้หน่วยงาน เพื่อเป็นการยกย่องหน่วยงานในการขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว และขอให้หน่วยงานร่วมขับเคลื่อนตามหลักการและแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรคุณธรรมต่อไป

อ่านรายละเอียด

องค์การจัดการน้ำเสีย ลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและบริการวิชาการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและบริการวิชาการ ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ห้องประชุม 0203 อาคารชูชาติกำภู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการสนับสนุนแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการบริหารจัดการน้ำเสียของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างประหยัด คุ้มค่าและสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้รวมทั้งจะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลแล้ว ยังสามารถให้การบริการจัดการน้ำเสียเกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน  

อ่านรายละเอียด

การจัดสร้างวัตถุมงคล เนื่องในโอกาสสถาปนากระทรวงมหาดไทย ๑๓๐ ปี

กระทรวงมหาดไทยมีอายุครบ ๑๓๐ ปี ไปเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ ภารกิจเมื่อแรกตั้ง เน้นจัดระเบียบงานมหาดไทยให้รวมอยู่ในที่เดียวกัน ดังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ว่า “ในยุคสมัยนั้นระเบียบการปฏิบัติงานต่าง ๆ ขาดความชัดเจน งานก็ยังเหลื่อมซ้อนกันกับหน่วยงานอื่น ๆ วิธีการปฏิบัติงานก็ล้าสมัย จนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงมีพระราชดำริเป็นยุติให้ฟื้นราชการมหาดไทยทั้งกระทรวง” สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดี ทรงริเริ่มแนวคิดการทำงานที่มุ่งเน้นอุดมการณ์ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” โดยทำนุบำรุงบ้านเมืองเสียตั้งแต่ยามปกติ ไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาเสียก่อนค่อยดำเนินการ มีการตั้งกรมต่าง ๆ ขึ้น และดึงอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองที่เคยกระจายอยู่หลายหน่วย มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยเพียงแห่งเดียว ทำหน้าที่ในงานปกครองหัวเมือง งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานรักษาความสะอาด งานอัยการ งานสาธารณสุข งานป่าไม้ งานเหมืองแร่และงานเก็บภาษีอากร สถานที่ปฏิบัติงานของกระทรวงมหาดไทย เดิมใช้ศาลาลูกขุนใน (ฝ่ายซ้าย) ที่ตั้งอยู่ภายในเขตพระบรมมหาราชวัง ส่วนบริเวณกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน เดิมใช้เป็นที่ทำการของการกระทรวงนครบาลและกระทรวงโยธาธิการ ภายหลังได้ยุบรวมมาอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย แต่ตัวที่ทำการกระทรวงเอง ย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบันเมื่อปี ๒๔๗๖ อาณาบริเวณกระทรวงมหาดไทยในทุกวันนี้ ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่วังของเจ้านายชั้นสูง ๓ วัง ได้แก่ “วังริมสะพานช้างโรงสี วังใต้” เป็นวังของพระองค์เจ้าเนียม กับ “วังถนนเฟื่องนคร วังเหนือ” ซึ่งเป็นวังของกรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล ทั้งสองวังนี้ได้ถูกปรับมาสร้างศาลาว่าการกระทรวงนครบาล และสุดท้ายคือ “วังถนนเฟื่องนคร วังใต้” อันเคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระบิดาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ต่อมาหลังกรมขุนเจริญผลฯ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑เมษายน ๒๔๓๕ ร.๕ รับสั่งถามกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ฯ ผู้เป็นโอรสได้ความว่า จะผนวชไปตลอดพระชนม์ชีพ จึงโปรดฯให้นำพื้นที่วังเดิมก่อสร้างศาลาว่าการกระทรวงโยธาธิการ ในภายหลังพื้นที่ทั้งหมดได้ถูกโอนมาเป็นของกระทรวงมหาดไทยจนปัจจุบัน ดังนั้น ถือได้ว่ากระทรวงมหาดไทยกับวัดราชบพิธฯ มีความใกล้ชิดผูกพันกันมาแต่ครั้งกระโน้น ในโอกาสอันสำคัญยิ่งนี้ มีการจัดสร้างพระพุทธรูปประจำกระทรวงมหาดไทย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว ขึ้นเพื่อเตรียมนำไปประดิษฐาน ณ ศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทยแห่งใหม่ ที่กำลังก่อสร้างในเขตคลองสาน กำหนดแล้วเสร็จปี ๒๕๖๙ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานนามว่า “พระพุทธมุนีศรีประชานาถ” แปลว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่ง อันนำมาซึ่งความเจริญของปวงประชา” รวมทั้งจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อตอบแทนแก่ผู้มีจิตศรัทธา บริจาคเงินสมทบ “กองทุนสาธารณกุศล ๑๓๐ ปี กระทรวงมหาดไทย” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างสถานปฏิบัติธรรมสมเด็จพระสังฆราช (อมฺพรมหาเถร) ตำบลคลองเก้า อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และใช้สำหรับสงเคราะห์บุคลากรในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและครอบครัว ที่มีปัญหาความเดือดร้อนหรือประสบภัยจากการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ทั้งนี้ ได้รับพระเมตตาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีเททองหล่อพระเกศ “พระพุทธมุนีศรีประชานาถ” และ เททองหล่อราชสีห์มหามงคล เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร โดยมีแผ่นทอง-เงิน-นาค ที่ผ่านการจารอักขระและอธิษฐานจิต จากเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมจากทั้ง ๗๖ จังหวัดและกรุงเทพมหานคร เป็นมวลสารสำคัญ พิธีพุทธาภิเษกจะจัดขึ้นในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕ ณ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีพระอาจารย์วราห์ ปุญญวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิทอง เขตจอมทอง เป็นเจ้าพิธี และคณาจารย์นั่งปรก ๘ รูป ได้แก่ หลวงพ่อชำนาญ วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี หลวงพ่อแป๊ะ วัดสว่างอารมณ์ จ.นครปฐม หลวงปู่ฤษีตาไฟ วัดเทพหิรัญย์ จ.ชัยนาท หลวงพ่ออุดมทรัพย์ วัดประสิทธิเวช จ.นครนายกหลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี จ. สมุทรสงคราม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง จ.อุดรธานี หลวงพ่อพบโชค วัดห้วยปลากั้ง จ.เชียงราย และพระอาจารย์สุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น จ. มหาสารคาม วัตถุมงคลที่จัดสร้าง ได้แก่ ราชสีห์มงคลเนื้อทองคำ ๒๖๐ องค์ ( ๙๐,๐๐๐ บาท) เนื้อเงิน ๒,๕๖๕ องค์ ( ๕,๐๐๐ บาท) เนื้อรมดำ ๒๕,๖๕๐ องค์ ( ๕๐๐ บาท) ราชสีห์ใหญ่เนื้อโลหะพิเศษ ๒,๕๖๕ องค์ ( ๑๐,๐๐๐ บาท) พระพุทธมุนีศรีประชานาถ (จำลอง) หน้าตัก ๙ นิ้ว ๑,๓๐๐ องค์ ( ๑๓,๐๐๐ บาท) และเหรียญพระพุทธมุนีศรีประชานาถ ขนาด ๒.๔ ซ.ม. ๒๐,๐๐๐ เหรียญ ( ๑๓๐ บาท) ผู้สนใจวัตถุมงคล “ราชสีห์ทองคำ” ร่วมบริจาคได้ที่ Line Official “ราชสีห์ 130 ปี มท.” ส่วนวัตถุมงคลรายการอื่นบริจาคผ่านบริษัทไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด ที่ www.jubjaai.com

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นำทีม องค์การจัดการน้ำเสีย โยธาฯ อปท เร่งฟื้นฟูคลองสำโรงสงขลา ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังเมืองสงขลาและน้ำเน่าเสีย

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง เขตเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายผดุงเดช ลือปิยะพาณิชย์ ผู้ตรวจกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยดำเนินงานประธานรัฐสภา นายภูรินทร์ ทิพย์มณี รองนายกเทศบาลมนตรีนครสงขลา นายธนรัตน์ ตุละธน รองนายกเทศมนตรีเมืองเขารูปช้าง ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พมจ.จังหวัดสงขลา หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมรายงานข้อมูล ณ บริเวณสะพานแยกสำโรง ทั้งนี้ นายนิพนธ์ ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาคลองสำโรงในการที่จะหาแนวทางแก้ไขเพื่อฟื้นฟูคลองสำโรงให้มีความสะอาดมีศักยภาพในการระบายน้ำให้ได้ดีขึ้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคลองมีปัญหาตื้นเขินคันคลองบางช่วงมีระดับต่ำและมีผู้อาศัยอยู่บริเวณแนวคลองสำโรงอย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลต่อการระบายน้ำ ทั้งยังมีขยะและสิ่งปฏิกูลจำนวนมากที่ถูกนำมาทิ้งลงคลอง จนทำให้น้ำมีคุณภาพต่ำ มีสีดำ เน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งรมช.มท.ได้มอบหมายให้ทางองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)หาแนวทางแก้ไขปัญหาคลองสำโรงให้ได้เพราะเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน สำหรับคลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้างเป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา และเมื่อมีชุมชนมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชน จึงต้องมีการวางแผนเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ควบคู่ไปกันไป ทั้งนี้นายชีระ วงศบูรณะได้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพน้ำในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย ระยะที่ 1 เทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยจะเป็นการรวมน้ำเสียซึ่งปัจจุบันถูกระบายลงสู่คลองสำโรงโดยตรงเป็นปริมาณมาก เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ทางราชการกำหนดไว้ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง รวมทั้งบรรเทาปัญหาด้านความเป็นอยู่ และสุขอนามัยของพี่น้องประชาชนในชุมชนริมคลองสำโรงอย่างเป็นระบบได้อย่างยั่งยืน ต่อจากนั้น รมช.มท.ได้ลงเรือเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำเสียบริเวณคลองสำโรงอย่างใกล้ชิดบริเวณ ถนนสงขลา-นาทวี ซอย 2 พร้อมทั้ง ร่วมปล่อยจุลินทรีย์ชนิดน้ำ เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย และลดการเกิดกลิ่นจากน้ำขังในคลองสำโรง รมช.มท.กล่าวว่า วันนี้ได้เชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาสำรวจคลองสำโรงเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน โดยการดำเนินการแก้ไขนั้นจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังในเมืองสงขลา และแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองสำโรง ในส่วนของกรมโยธาฯเองก็ได้ทำเขื่อนป้องกันการกัดเซาะไว้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งวันนี้ได้รับการยืนยันจากรองนายกเทศบาลเมืองเขารูปช้างว่า จะสามารถเคลียร์เรื่องพื้นที่ได้แล้วเสร็จ ถ้าสามารถเคลียเรื่องพื้นที่ได้ กรมโยธาธิการและผังเมืองก็สามารถตั้งงบประมาณต่อเนื่องจากโครงการเก่าที่สำเร็จไปแล้วได้ และเนื่องจากก่อนหน้านี้มีปัญหาในเรื่องของที่ดิน ซึ่งถ้าเทศบาลเมืองเขารูปช้างสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ ก็จะสามารถหางบประมาณมาทำการต่อไป อันนี้นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นสถานที่พักผ่อนออกกำลังกาย และยังเป็นการป้องกันการกัดเซาะชายตลิ่ง ควบคู่ไปกับการทำท่อระบายน้ำเสีย เพื่อไม่ให้ปล่อยน้ำเสียลงไปในคลองสำโรง

อ่านรายละเอียด

อจน.ร่วมจัดงานประชุมขับเคลื่อน ติดตาม ภารกิจสำคัญ กระทรวงมหาดไทย

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) ร่วมจัดงานประชุมขับเคลื่อน ติดตาม ภารกิจสำคัญ กระทรวงมหาดไทย โดยองค์การจัดการน้ำเสียได้ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานในการประชุมขับเคลื่อน และติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งงานนี้ ได้รับเกียรติจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย โดยงานนี้ นาย ชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้นำเสนอการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากการบำบัดน้ำเสีย ของศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ จังหวัดนนทบุรี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ในการเพาะเลี้ยงตัวอย่างพันธุ์ปลาน้ำจืดของประเทศไทย ในรูปแบบอควาเรียม(Aquarium) นอกจากนี้ องค์การจัดการน้ำเสียยังมีการก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำที่มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านบนในรูปแบบอื่น เช่น สนามฟุตบอล สวนสาธารณะ เป็นต้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถติดต่อกองพัฒนาและบริหารโครงการ ฝ่ายวิศวกรรม โทร 02 273 8562 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.wma.or.th

อ่านรายละเอียด

องค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับ รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประเภท รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น ประเภท เชิดชูเกียรติ ร่วมกับ การประปานครหลวง

เมื่อวันศุกร์วันที่ 31 มกราคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2564 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยองค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับ รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประเภท “รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น ประเภท เชิดชูเกียรติ ร่วมกับ การประปานครหลวง”  

อ่านรายละเอียด

กระทรวงมหาดไทยได้มอบใบเกียรติบัตรยกย่ององค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

กระทรวงมหาดไทยได้มอบใบเกียรติบัตรยกย่ององค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ให้หน่วยงาน เพื่อเป็นการยกย่องหน่วยงานในการขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว และขอให้หน่วยงานร่วมขับเคลื่อนตามหลักการและแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรคุณธรรมต่อไป

อ่านรายละเอียด

องค์การจัดการน้ำเสีย ลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและบริการวิชาการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและบริการวิชาการ ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ห้องประชุม 0203 อาคารชูชาติกำภู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการสนับสนุนแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการบริหารจัดการน้ำเสียของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างประหยัด คุ้มค่าและสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้รวมทั้งจะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลแล้ว ยังสามารถให้การบริการจัดการน้ำเสียเกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน  

อ่านรายละเอียด